วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
การบันทึกครั้งที่16 วันศุกร์ ที28 เมษายน พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08.30-12.30น.
•ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
•จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
ความรู้ที่ได้รับ
สัปดาห์นี้เรียนเรื่อง Picture Exchange Communication System (PECS)

บทบาทครู
•ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู•ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
•จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
- ทักษะทางสังคม
- กิจกรรมการเล่น
- ยุทธศาสตร์การสอน
- การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
2.ทักษะภาษา
- การวัดความสามารถทางภาษา
- การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
- การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
- พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก
- ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
- การสร้างความอิสระ
- ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- หัดให้เด็กทำเอง
- จะช่วยเมื่อไหร่
- ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
- ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
- การเข้าส้วม
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
- เป้าหมาย
- ช่วงความสนใจ
- การเลียนแบบ
- การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
- การรับรู้ การเคลื่อนไหว
- การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
- ความจำ
- การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
-จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกาษาออกไปทำกิจกรรมหน้าห้อง

ประเมินตัวเอง
ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอนทั้งคาบค่ะ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมหน้าห้องเรียน
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์น่ารักยิ้มแย้มสดใสตลอดเวลา ทำให้สนุกไปด้วยค่ะ
การบันทึกครั้งที่11 วันศุกร์ ที24 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08.30-12.30น.
ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์แจกคะแนนสอบกลางภาคให้แต่ละคน

จากนั้นเป็นการเรียนที่เกี่ยวกับเด็กพิเศษโดยจะเรียนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
- เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
- เกิดผลดีในระยะยาว
- เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
- แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
- โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
- การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
- การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
- การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
3. การบำบัดทางเลือก
- การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
- ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
- ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
- การฝังเข็ม (Acupuncture)
- การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
"การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)"
- การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
- โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
- เครื่องโอภา (Communication Devices)
- โปรแกรมปราศรัย
บทบาทของครู.
- ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
- ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
- จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
- ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
2. ทักษะภาษา
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

ประเมินตัวเอง
การบันทึกครั้งที่10 วันศุกร์ ที17 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08.30-12.30น.
1.การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
2.การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
*ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)*
ความรู้ที่ได้รับ
ก่อนเรียนก็จะเป็นการสอบกลางภาคของรายวิชา การจัดประสบการณ์ การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ใหห้เวลาสอบ 1 ชั่วโมง **
-จากนั้นก็เรียนการสอน "รูปแบบการจัดการศึกษา"
- การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
- การศึกษาพิเศษ (Special Education)
- การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
- การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
"การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ"
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
1.การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
- การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
- เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
- เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
- การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
- เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
- การศึกษาสำหรับทุกคน
- รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
- จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
"Inclusive Education is Education for all, It involves receiving people at the beginning of their education, with provision of additional services needed by each individual"
"ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย"
- ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
- “สอนได้”
- เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
**บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม**
- ครูไม่ควรวินิจฉัย
- ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
- ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- ครูทำอะไรบ้าง

-จากนั้นอาจารย์มีกิจกรรมวาดรูปดอกบัว ให้นักศึกษาสังเกตดอกบัวและวาดอย่างละเอียด เมื่อวาดรูปเสร็จเรียบร้อย ให้เราเขียนในสิ่งที่เห็นลงไปในรูปภาพ



-จากนั้นอาจารย์ให้ ดูวิดิโอรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง ที่มีเด็กพิเศษไปแข่งตีขิมในรายการ

ประเมินตัวเอง
การบันทึกครั้งที่9 วันศุกร์ ที่10 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08.30-12.30น.
ความรู้ที่ได้รับ


"เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์"
"(Children with Behavioral and Emotional Disorders)"
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
1.ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
2.ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
3.ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
- ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
- ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
- สมาธิสั้น (Attention Deficit)
- การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
- ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
- ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
สาเหตุ
- ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
- ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)
เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชมีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
- Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
- อยู่ไม่สุข (Hyperactivity )
- สมาธิสั้น (Attention Deficit )
"เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)"
- เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
- เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
- เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
- เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด
จากนนั้นอาจารย์ให้ดูวิดีโอ เด็กสมาธิสั้น

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์แล้วจดตามอาจารย์บอกคะ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆต่างตั้งใจเรียน มีความสามัคคีกัน และช่วยๆกันตอบเวลาอาจารย์ถาม
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนเข้าใจ สนุกสนาน ยิ้มแย้มตลอดทั้งคาบคะ
การบันทึกครั้งที่8 วันศุกร์ ที่3 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08.30-12.30น.
ความรู้ที่ได้รับ
"ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ"
"เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) "
- เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability)
- เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
- ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
สาเหตุของ LD
- ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
- กรรมพันธุ์
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
- แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
- มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
- เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
- งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
- การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
- สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
- เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
- ทำงานช้า
"ออทิสติก (Autistic)"
- หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
- เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
- ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
- ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
- เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
- ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว"
ลักษณะของเด็กออทิสติก
- อยู่ในโลกของตนเอง
- ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
- ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
- ไม่ยอมพูด
- เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
พฤติกรมการทำซ้ำ
- นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
- นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
- วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
- ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
ออทิสติกเทียม
-ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ
-ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
-ดูการ์ตูนในทีวี
Autistic Savant
-กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker)
-กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker)
จากนั้นอาจารย์ได้ให้ดูวิดีโอของน้องที่เป็นออทิติก
ประเมินตัวเอง
ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์อธิบายตลอดทั้งคาบ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)